วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด "สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา"


               1.     สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
สื่อที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน หรือที่เรียกว่า สื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ ( ปรมะ สตะเวทิน 2526 : 127 ) ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ จำแนกสื่อมวลชนไว้ครอบคลุมสื่อ 6 ประเภท คือ ( ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2525 : 270 )
1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว
               
                2.    คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด และสื่อมวลชนนอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้รับ ซึ่งเป็นงานหลักของสื่อมวลชนแล้ว ยังให้ความรู้ความคิดแก่ประชาชนได้เป็นอันมาก สื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง (Parallel School) ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียนจากคุณสมบัติด้านต่างๆ ของสื่อมวลชน ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สามารถสรุปคุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ
1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
4.1 ความหลากหลาย
4.2 ความทันสมัย
4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
5. ความสะดวกในการรับ
6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก

                  3.    ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
การใช้โทรทัศน์การศึกษาและการสอน โทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งประเภทหนึ่ง เนื่องจากเป็นสื่อที่ส่งได้ทั้งภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  เมื่อมีการนำโทรทัศน์มาใช้ในการศึกษา จึงทำให้เกิดคำว่า โทรทัศน์การศึกษาขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้รับทางบ้าน และ โทรทัศน์การสอนเพื่อสอนเนื้อหาตามหลักสูตรแต่ละวิชา
ประโยชน์ของโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1. การสอนโดยตรง
           เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อเสนอรายการที่จัดทำขึ้นตามเนื้อหาในหลักสูตรในรูปแบบของโทรทัศน์การสอน  การสอนโดยตรงนี้สามารถกระทำได้ทั้งในโทรทัศน์ระบบวงจรเปิดและวงจรปิด  ถ้าเป็นการสอนในระบบวงจรเปิดและเป็นการออกอากาศจากสถานีส่งมายัง   ห้องเรียน  การสอนลักษณะนี้จะมีครูประจำชั้นคอยเป็นพี่เลี้ยงควบคุมการเรียนและตรวจงานปฏิบัติของผู้เรียนในห้องเรียนนั้น  แต่ถ้าเป็นการส่งในระบบวงจรปิด ผู้สอนที่สอนอยู่ในห้องเรียนหรือในห้องส่งจะเป็นผู้รับผิดชอบผู้เรียนทั้งหมดด้วยตนเองโดยไม่มีผู้อื่นควบคุมการเรียนในแต่ละห้อง 
2. การเพิ่มคุณค่าทางการสอน
            เป็นการนำรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นมาเสนอแก่ผู้เรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ และเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น รายการที่นำเสนออาจเป็นการบันทึกลงแถบวีดิทัศน์ไว้ หรือเป็นรายการสดตามตารางการออกอากาศก็ได้  เช่น  สารคดีชีวิตสัตว์  การประดิษฐ์สิ่งของ  หรือการอภิปรายต่างๆ  เป็นต้น
           การใช้รายการโทรทัศน์เพื่อเสริมการสอนนี้สามารถจะช่วยในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของการสอนในห้องเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด เช่น ด้านประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวเหตุการณ์ระหว่างประเทศ  หรืออาจช่วยอธิบายเพิ่มเติมประกอบวิชาที่ยากแก่ครูผู้สอน เช่น ศิลปะ ดนตรี วิทยาศาสตร์  ฯลฯ   ตลอดจนเป็นการนำแรงกระตุ้นจากภายนอกวิชา  เช่น วรรณคดี ซึ่งยากแก่ผู้สอนที่จะทำให้เกิดความตื่นเต้นและแรงจูงใจในการเรียน
ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โทรทัศน์การศึกษา
ข้อดี
1.  สามารถใช้ในสภาพที่ผู้เรียนมีจำนวนมากและผู้สอนมีจำนวนจำกัดทั้งนี้เพราะสามารถแพร่ภาพและเสียงไปตามห้องเรียนต่างๆและผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านได้                                                    
2.  เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้โดยสะดวกในรูปแบบของสื่อ ประสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
3.  เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้สอนทางโทรทัศน์
        4.  สามารถสาธิตได้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนเห็นสิ่งที่ต้องการเน้นได้โดยเทคนิคการถ่ายใกล้เพื่อขยายภาพหรือวัสดุให้ผู้เรียนเห็นทั่วถึงกันอย่างชัดเจน
5.  เป็นสื่อที่สามารถนำรูปธรรมมาประกอบการสอนได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคม
6.  ช่วยปรับปรุงเทคนิคการสอนของครูประจำและครูฝึกสอน เช่น ในการสอนแบบจุลภาค

 ข้อจำกัด
1.  โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียวผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้
2.   อาจเกิดอุปสรรคทางด้านการสื่อสาร เช่น กระแสไฟฟ้าขัดข้อง หรือสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนไม่เอื้ออำนวย
3.       จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ผลิตรายการที่มีคุณภาพได้
4.       การผลิตรายการอาจไม่ดีพอทำให้การสอนไม่น่าสนใจเท่าที่ควร
5.       โทรทัศน์มิใช่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทนผู้สอนอย่างสิ้นเชิงผู้เรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาบทเรียนเพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆประกอบด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น