วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

"จิตวิทยาสีของการออกแบบสื่อการสอน"

1.ถ้าต้องการออกแบบและนำเสนอ PowerPointถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ ควรใช้ใด ในการออกแบบเพราะเหตุใดจงอธิบาย
             -
สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกถึงความเก่าแก่ โบราณ แสดงถึง ความมั่นคง เรียบร้อยและสะดวกสบาย
             -
สีเทา สีพื้นฐานของสีกลาง แสดงถึงความสุภาพและสร้างสรรค์
             -
สีน้ำเงิน สื่อถึงความสงบ เยือกเย็น
         
ซึ่ง 3 สีที่กล่าวมานั้น เหมาะกับการนำเสนอเพราะว่าต้องนำเสนอสีที่ไม่ฉูดฉาดและไม่เด่นเกินไปเพราะเป็นเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ


2. ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดจาก Google Search ที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภา 



                                                                                                    ภาพที่ 1

• เป็นภาพที่มีใบไม้ที่มีสีที่แตกต่างจากพวกมาแทรกตรงกลาง ทำให้เกิดการตัดกันของสี แต่กลมกลืนเรื่องรูปร่างและรูปทรง


                                                                                                ภาพที่ 2

• เป็นภาพที่เกิดการตัดกันของสีระหว่างลำต้นที่มีสีเขียวกับดอกไม้ที่มีสีแดง ทำให้เกิดความกลมกลืนและโดดเด่น 

3. ให้นิสิตหาตัวอย่างภาพจาก Google Search ในลักษณะการสร้างความกลมกลืน โดยใช้สีในลักษณะสภาพสีส่วนรวม (TONALITY OF COLOR) มา 2 ภาพ พร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ  
                                                                                                     ภาพที่ 1

• เป็นภาพทุ่งหญ้าสีเขียวที่ตัดกับท้องฟ้า  เมื่อมองภาพโดยรวมแล้วจะเห็นว่า สีเขียว เป็นสีที่ ครอบคลุม บรรยากาศทั้งหมด นั่นก็คือเป็นวรรณะของสีเขียว


                                                                                                     ภาพที่ 2

• เป็นภาพที่ใช้โทนสีเสื้อผ้าของคน สีของแม่น้ำและท้องฟ้า  จัดอยู่ในโทนเดียวกันหมด บ่งบอกถึงเวลาเย็นยามพระอาทิตย์ใกล้ตก แสดงบรรยากาศที่อบอุ่น  




"จิตวิทยาด้านกราฟิกกับการออกแบบสื่อการสอน"


1. เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดูอย่างไร

          • จากการออกแบบกลับพื้นภาพทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานเป็นสัญลักษณ์ (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่าภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดำจะทำให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ในข้อที่ 6 ตัวอักษรดาและขาวโตเท่ากันในการทำต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดำทำให้ดูโตกว่





2. ให้นิสิตหาภาพ ความลึก (Perspective)  พร้อมอธิบายความหมายของภา


       • เป็นภาพเด็กกำลังเดินบนทางเดินที่ทำจากไม้ จากภาพจะเห็นได้ว่าเมื่อมองออกไปตามทางก็จะเห็นทางเดินที่แคบลงเรื่อยๆ ทำให้ภาพนั้นเกิดความลึก มีมิติ ใกล้ กลาง ไกล ทำให้ภาพเกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น



3. ให้นิสิตหาภาพ ความขัดแย้ง (Contrast) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ  


        • ความขัดแย้งด้วยรูปทรง ,ขัดแย้งด้วยขนาด,ขัดแย้งด้วยเส้น,ขัดแย้งด้วยผิว,ขัดแย้งด้วยสี ความขัดแย้งที่กล่าวมาถูกจัดวางเพื่อให้เกิดความงามทางศิลปะ ภาพนี้เป็นภาพความขัดแย้งเรื่องสีแต่ทำให้เกิดความลงตัวด้วยการเบล็คสีโทนเย็นของกลุ่มคนพายเรือลำที่อยู่ตรงกลาง 



วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด"โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา"


            1 .   โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
โทรคมนาคม( Telecommunication) หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย  เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ  โทรคมนาคมมีประโยชน์ทางการศึกษา ดังนี้
- ช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
               - ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน
- ช่วยเก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าได้อย่างสะดวก
- เพื่อประสิทธิภาพในการผลิตสารนิทศ
- ลดอุปสรรคเกี่ยวกับระยะเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ
             
            2 .   การใช้ Facebookเป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook
          Facebook สามารถเป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาได้ เพราะเราสามารถใช้ Facebook ซึ่งเป็นการใช้โทรคมนาคมเพื่อการศึกษาทางอ้อม นับว่ามีส่วนให้การศึกษาแก่ประชาชนโดยอ้อมและมีส่วนสร้างโลกใบนี้ให้แคบลง เพราะข่าวคราวต่างๆสามารถแพร่ไปทั่วโลกได้รวดเร็ว ประโยชน์คือ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การส่งสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ภาพ วีดีโอ เสียง โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการสื่อสารที่คลอบคลุมไปทั่วโลก
           
           3 .  นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง
วิธีรับชม
ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจ าหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ
ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามค าสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
               
             4.     ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม คือ สามารถที่จะขยายงานการเรียนการสอนไปได้กว้าง ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาน้อย และแก้ไขปัญหาครูขาดแคลน ในโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงเรียนบริเวณชายแดน สามารถให้นักเรียนได้รับความรู้ได้เท่าเทียมกัน และได้ประโยชน์ในการศึกษาที่แตกต่างจากเดิม  หรือ ความรู้ใหม่ๆต่างจากที่อาจารย์ในห้องสอน
         
              5.    นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมา   ของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม
สถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคมแห่งนี้ นับเป็นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศทั้งการเรียนในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ซึ่งส่งสัญญาณจากโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านสถานีส่งสัญญาณดาวเทียมไทยคม ไปยังโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ  ได้เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2538 เพื่อเฉลิมฉลองมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ในปีกาญจนาภิเษก พ.ศ 2539 นับเป็นการศึกษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยแก่นักเรียน ช่วยให้นักเรียนทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร หรืออยู่ในส่วนใดของประเทศ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม เพื่อนำไปติดตั้งถ่ายทอดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมจากประเทศไทย เพื่อรับชมเนื้อหารายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมสื่อสารกับผู้สอน ได้ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล
จากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการพระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีผลในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและเป็นการประหยัดงบประมาณ ตลอดจน สร้างความเสมอภาคด้านคุณภาพการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยทั่วประเทศ นับเป็นการพระราชทานการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง

6 . ให้นิสิต
Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา







วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด "สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา"


               1.     สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
สื่อที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน หรือที่เรียกว่า สื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ ( ปรมะ สตะเวทิน 2526 : 127 ) ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ จำแนกสื่อมวลชนไว้ครอบคลุมสื่อ 6 ประเภท คือ ( ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2525 : 270 )
1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว
               
                2.    คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด และสื่อมวลชนนอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้รับ ซึ่งเป็นงานหลักของสื่อมวลชนแล้ว ยังให้ความรู้ความคิดแก่ประชาชนได้เป็นอันมาก สื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง (Parallel School) ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียนจากคุณสมบัติด้านต่างๆ ของสื่อมวลชน ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สามารถสรุปคุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ
1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
4.1 ความหลากหลาย
4.2 ความทันสมัย
4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
5. ความสะดวกในการรับ
6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก

                  3.    ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
การใช้โทรทัศน์การศึกษาและการสอน โทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งประเภทหนึ่ง เนื่องจากเป็นสื่อที่ส่งได้ทั้งภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  เมื่อมีการนำโทรทัศน์มาใช้ในการศึกษา จึงทำให้เกิดคำว่า โทรทัศน์การศึกษาขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้รับทางบ้าน และ โทรทัศน์การสอนเพื่อสอนเนื้อหาตามหลักสูตรแต่ละวิชา
ประโยชน์ของโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1. การสอนโดยตรง
           เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อเสนอรายการที่จัดทำขึ้นตามเนื้อหาในหลักสูตรในรูปแบบของโทรทัศน์การสอน  การสอนโดยตรงนี้สามารถกระทำได้ทั้งในโทรทัศน์ระบบวงจรเปิดและวงจรปิด  ถ้าเป็นการสอนในระบบวงจรเปิดและเป็นการออกอากาศจากสถานีส่งมายัง   ห้องเรียน  การสอนลักษณะนี้จะมีครูประจำชั้นคอยเป็นพี่เลี้ยงควบคุมการเรียนและตรวจงานปฏิบัติของผู้เรียนในห้องเรียนนั้น  แต่ถ้าเป็นการส่งในระบบวงจรปิด ผู้สอนที่สอนอยู่ในห้องเรียนหรือในห้องส่งจะเป็นผู้รับผิดชอบผู้เรียนทั้งหมดด้วยตนเองโดยไม่มีผู้อื่นควบคุมการเรียนในแต่ละห้อง 
2. การเพิ่มคุณค่าทางการสอน
            เป็นการนำรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นมาเสนอแก่ผู้เรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ และเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น รายการที่นำเสนออาจเป็นการบันทึกลงแถบวีดิทัศน์ไว้ หรือเป็นรายการสดตามตารางการออกอากาศก็ได้  เช่น  สารคดีชีวิตสัตว์  การประดิษฐ์สิ่งของ  หรือการอภิปรายต่างๆ  เป็นต้น
           การใช้รายการโทรทัศน์เพื่อเสริมการสอนนี้สามารถจะช่วยในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของการสอนในห้องเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด เช่น ด้านประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวเหตุการณ์ระหว่างประเทศ  หรืออาจช่วยอธิบายเพิ่มเติมประกอบวิชาที่ยากแก่ครูผู้สอน เช่น ศิลปะ ดนตรี วิทยาศาสตร์  ฯลฯ   ตลอดจนเป็นการนำแรงกระตุ้นจากภายนอกวิชา  เช่น วรรณคดี ซึ่งยากแก่ผู้สอนที่จะทำให้เกิดความตื่นเต้นและแรงจูงใจในการเรียน
ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โทรทัศน์การศึกษา
ข้อดี
1.  สามารถใช้ในสภาพที่ผู้เรียนมีจำนวนมากและผู้สอนมีจำนวนจำกัดทั้งนี้เพราะสามารถแพร่ภาพและเสียงไปตามห้องเรียนต่างๆและผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านได้                                                    
2.  เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้โดยสะดวกในรูปแบบของสื่อ ประสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
3.  เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้สอนทางโทรทัศน์
        4.  สามารถสาธิตได้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนเห็นสิ่งที่ต้องการเน้นได้โดยเทคนิคการถ่ายใกล้เพื่อขยายภาพหรือวัสดุให้ผู้เรียนเห็นทั่วถึงกันอย่างชัดเจน
5.  เป็นสื่อที่สามารถนำรูปธรรมมาประกอบการสอนได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคม
6.  ช่วยปรับปรุงเทคนิคการสอนของครูประจำและครูฝึกสอน เช่น ในการสอนแบบจุลภาค

 ข้อจำกัด
1.  โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียวผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้
2.   อาจเกิดอุปสรรคทางด้านการสื่อสาร เช่น กระแสไฟฟ้าขัดข้อง หรือสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนไม่เอื้ออำนวย
3.       จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ผลิตรายการที่มีคุณภาพได้
4.       การผลิตรายการอาจไม่ดีพอทำให้การสอนไม่น่าสนใจเท่าที่ควร
5.       โทรทัศน์มิใช่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทนผู้สอนอย่างสิ้นเชิงผู้เรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาบทเรียนเพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆประกอบด้วย

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึดหัดระหว่างเรียน


1. ให้นิสิตบอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์
คำตอบ
การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการได้เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น เพราะถ้ามีสภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดีแล้ว ผู้เรียนก็จะมีความกระตือรือร้นในการศึกษา ผลการศึกษาและตัวผู้เรียนก็จะเกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์ จึงมีความสำคัญมาก เพราะผู้ที่เรียนในสาขาวิชานี้คือผู้ที่จะออกไปเป็นพ่อพิมพ์และแม่พิมพ์ของชาติในอนาคต จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ต่างๆให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีหลายประการ ได้แก่
Ø     สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่นห้องเรียนมีความสะดวกสบาย มีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนครบถ้วน ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน ผู้สอนก็มีความสุขในการสอน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยความราบรื่น สะดวก รวดเร็ว ตามแผนที่วางไว้
Ø     สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้านเช่น ทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนให้มีความสนใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียนเปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดี มีความพึงพอใจในการเรียนช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัจจัยสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนก็คือความรู้สึกที่เกิดจากตัวผู้เรียน ความรู้สึกพึงพอใจ สนใจ อยากเรียน อยากรู้ ซึ่งจะเป็น ตัวการนำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด ดังนั้นถ้าผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านกายภาพ จิตภาพ และทางด้านสังคมภาพแล้ว จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกดังกล่าวได้
Ø     สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการจัดการศึกษาประการหนึ่งก็คือมุ่งให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพดี มีการแสดงออกทางกาย วาจาและใจตามแบบอย่างที่สังคมยอมรับกล่าวคือมีคุณธรรม และจริยธรรมที่เป็นเครื่องหมายของคนดี มีการประพฤติ ปฏิบัติสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดี
Ø     สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสริมสร้างบรรยากาศในการเรียน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีจะทำให้บรรยากาศในการเรียนเอื้อต่อการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีความสะดวกสบาย สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน  จะช่วยสร้างบรรยากาศทางวิชาการให้เกิดขึ้นทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้หรือทำกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ อย่างตั้งใจและมีสมาธิ ยิ่งถ้าผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นซึ่งจัดว่าเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านจิตภาพมีบุคลิกลักษณะที่อบอุ่น เป็นมิตร ก็จะยิ่งทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์มากยิ่งขึ้น
  Ø      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษา แนะแนวทางสภาพแวดล้อมเช่นนี้ช่วยให้ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนมากขึ้น ทำให้ได้รู้จักอุปนิสัย ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ดี ส่วนผู้เรียนจะลดความกลัว และมีความกล้ามากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอน

2. “การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษาจัดอยู่ในองค์ประกอบใดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เพราะเหตุใด
คำตอบ
   เป็นการจัดองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ เพราะ เป็นการเอื้อต่อการจัดการเรียนได้สะดวกและง่ายต่อการที่ครูสามารถเข้าไปดูแลเด็กนักเรียนได้ทั่วถึง
                เป็นการจัดองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพ เนื่องจากมีครูเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดการเรียนการสอน การแสดงบุคลิกของครูผู้สอนมีผลต่อความรู้สึกของนักเรียนทั้งในทางบวกและทางลบ
                                
3. ให้นิสิตยกตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
คำตอบ
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
 1. สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ เป็นสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ อาคารสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ สื่อ อุปกรณ์การสอนต่างๆ รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ตามธรรมชาติได้แก่ ต้นไม้ พืช ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เป็นต้น สภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ จะส่งผลต่อการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน แบ่งออกเป็นสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน
2. สภาพแวดล้อมทางด้านจิตภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อ ความรู้สึกจิตใจ เจตคติของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนการสอน
3. สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น คามสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน นักเรียนกับครูผู้สอน รวมถึงกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของโรงเรียน องค์ประกอบของ สภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านสังคม
4. องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น เทคโนโลยีจึงเป็นมิติหนึ่งในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ได้แก่ การสอนโดยใช้เครื่องฉาย ใช้ power point เป็นต้น

4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิสิตจะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านอย่างไร จงอธิบาย
คำตอบ
  ด้านกายภาพ....จะจัดให้ห้องเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยผู้สอนสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อที่จะให้นักเรียนเกิดการผ่อนคลายไม่ร้อนหรืออึดอัด
                ด้านจิตภาพ....ควรจัดให้มีนักเรียนไม่มากหรือน้อยเกินไปเพื่อไม่ให้อยู่ในสภาพแออัด จัดให้บรรยากาศในห้องเรียนมีความน่าตื่นเต้น ทำให้เด็กนักเรียนพร้อมที่จะเรียนรู้
                ด้านสังคม....มีการกำหนดกฎเกณฑ์รวมกันก่อนการเรียน เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนเข้าใจตรงกันและช่วยให้การสอนเป็นได้ง่ายขึ้น เช่น การตรงต่อเวลา แต่งการให้เรียบร้อยและเหมาะสม ไม่นำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้ามารับประทานในห้อง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนในห้อง มีน้ำใจ มีการเสียสละ

                ด้านเทคโนโลยี...มีการนำสื่อทั้งเก่าและใหม่มาใช้ มีการทดลองให้เห็นภาพที่แท้จริงและมีทฤษฎีให้เห็นอย่างพอเข้าใจในเรื่องที่ไม่สามารถนำของจริงมาให้ดูได้ และครูต้องเป็นสื่อที่สำคัญที่สุดในการให้ข้อมูลความรู้เพิ่มเติม

5. แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ ประการที่หนึ่ง ได้แก่แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษาจะเป็นสิ่งบ่งชี้นโยบายในการจัดการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องดำเนินไปให้สอดคล้องกับนโยบายนั้นๆ
                ประการที่สอง เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา อันได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม ตลอดจนจิตวิทยาในการทำงาน หลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยานี้จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย การเรียนรู้การรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้ดีควรเป็นอย่างไร
                ประการที่สาม เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสาร เนื่องจากการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหลักการต่าง ๆ ของการสื่อสารจะช่วยในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่นหลักการที่ว่าการสื่อความหมายจะได้ผลดีต่อเมื่อ ผู้รับเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่ง ดังนั้นผู้สอนควรทำอย่างไร จะใช้สื่อชนิดใด หรือจัดสถานการณ์อย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด
                ประการที่สี่ เป็นแนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา เป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่อาศัยสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังอาศัย เทคนิค วิธีการตลอดจนแนวคิดต่างๆ เพื่อมาปรุงแต่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นที่น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้เรียน
                ประการที่ห้า แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์ (ergonomics)ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน G.F. McVey แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เออร์โกโนมิกส์และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มาเป็นเวลานานเพื่อค้นหาคาตอบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพลักษณะใดจงจะเหมาะกับผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ความกว้าง ความสูง ของโต๊ะ เก้าอี้ ขนาดของห้องเรียน ขนาดของห้องฉายการติดตั้งจอ ระบบเสียงในห้องเรียน ห้องฉาย สภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ เหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเอื้ออานวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน