วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

: แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่


อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

           ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18 จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง มีประวัติหลายอย่างทางวัถตุทางธรรมชาติกว่า100000ปีควรอนุรักษ์ไว้ไห้ลูกหลานสืบต่อไป ความสวยงาม ความเป็นอยู่ของประชากร ของชาวจ.บุรีรัมย์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม





ปราสาทหินนครวัด

         เป็นปราสาทหินที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดของขอม ซึ่งนครธมได้สร้างขึ้นก่อนนครวัด โดยนครธมสร้างเมื่อประมาณ ค.ศ.1345-1412 ในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และที่ 2 นครธมมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 25,000 ไร่ ประกอบด้วยปราสาทกระจัดกระจายอยู่ตามบริเวณต่างๆ ไม่ต่ำกว่า600 แห่ง ตัวนครธมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูเมือง กำแพง ป้อมปราการสวยงาม แข็งแรง สร้างด้วยหินในเนื้อที่ 5,500 ไร่ ปราสาทของนครธมทุกยอด เป็นหน้าพรหมเกือบทั้งสิ้น ล้อมรอบด้วยปราสาทเล็ก มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น ปราสาทแปรรูป ปราสาทแม่บุญ ปราสาทบายน เป็นต้น ส่วนนครวัด เป็นศิลปะที่สร้างด้วยหินเช่นเดียวกับนครธม สร้างเมื่อประมาณ ค.ศ.1643 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เป็นปราสาทหิน 3 ชั้น หรือ 3 ตอน ประกอบด้วยคูเมืองขนาดใหญ่ มีเขื่อนก่อสร้างด้วยศิลารอบทั้ง 4 ทิศ มีสะพานหินใหญ่โต นครวัด-นครธม สร้างด้วยฝีมือมนุษย์และการแกะสลักลวดลายลงบนหินที่สวยงามมาก แต่การสร้างนครทั้งสองนี้ก็ทำให้ขอมสูญเสียกำลังคนและทรัพย์สิน เป็นจำนวนมากจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขอมถูกยึดอำนาจคืน จนในที่สุดขอมก็หมดสิ้นอำนาจไป

กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม



ปราสาทบันทายสำเหร่

           ปราสาทบันทายสำเหร่ (เขมร: ប្រាសាទបន្ទាយសំរែ บอนตีย์สำแร) ปราสาทนี้ได้รับการบูรณะโดยช่างชาวฝรั่งเศสด้วยวิธี Anastylose[1] ซึ่งเป็นวิธีซ่อมแซมโดยคงสภาพเดิมของปราสาทไว้ให้มากที่สุด จะไม่มีการต่อเติมหรือเพิ่มลวดลายขึ้นมาใหม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ช่างจะทำแผนผังส่วนประกอบต่าง ๆ ของปราสาทไว้ทั้งหมด จากนั้นก็ค่อยๆ รื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ ลงมา โดยจะทำเครื่องหมายและถ่ายภาพชิ้นส่วนทุกชิ้น จากนั้นก็ทำการปรับพื้นฐานล่างของปราสาทให้มั่นคงแข็งแรง แล้วสุดท้ายจึงประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดกลับเข้าไปเหมือนเดิม การบูรณะปราสาทด้วยวิธีนี้ช่างฮอลันดาเป็นผู้คิดค้นขึ้นและใช้ครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยเคยใช้กับการบูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

ปราสาทบันทายสำเหร่ตั้งอยู่นอกเมืองพระนครไปทางตะวันออก นักวิชาการสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 หรืออาจจะเป็นสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 เป็นเทวสถานฮินดู ศิลปะแบบนครวัด ภาพสลักส่วนใหญ่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ มีการแกะลายที่ชัดเจน ลึกและหนักแน่น
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม



ปราสาทบันทายศรี

         ปราสาทแห่งนี้สร้างอุทิศถวายพระอิศวรภายใต้พระนามว่า "ตรีภูวนมเหศวร" หรือ "ผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งสาม" ปราสาทมีขนาดเล็ก สร้างด้วยหินทรายสีชมพูซึ่งหายาก สร้างขึ้นเมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 1510 โดยพราหมณ์ยัชญวราหะ ในตอนปลายของสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (หรือพระเจ้า ชัยวรมันที่ 4 พ.ศ. 1487 - 1511) และเสร็จในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1554)ซุ้มประตูทางเข้า จำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณลวดลายมีความละเอียดสวยงามมากซุ้มทางซ้ายมือ จำหลักภาพพระอิศวรทรงโค มีพระอุมาเทวีประทับด้านซ้ายซุ้มทางขวามือ มีรูปพระนารายณ์อวตารเป็นนรสิงห์ผ่านประตูเข้าไปจะเห็นปราสาทองค์แรก สร้างอยู่เหนือฐานเดียวกันซึ่งสูง 90 เซนติเมตร ขนาบด้วยบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาตำราหรือวัตถุที่ใช้ในพิธีเคารพบูชา มีประตูเข้าทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซุ้มประตูหรือโคปุระนี้ ประดิษฐานปฏิมากรรมด้วยลวดลายที่งามวิจิตรอ่อนช้อย ลวดลายประดับที่ปราสาทบันทายศรี สลักเสลาอย่างวิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะเป็นเทพธิดาหรือนางอัปสรา ก็เต็มไปด้วยความสง่างามและมีชีวิตจิตใจในกรอบซุ้มปราสาทองค์แรก มีรูปพระศิวะกำลังร่ายรำ หรือที่เรียกว่า ศิวนาฏราช ท่ารำของพระองค์มีถึง 108 ท่า แต่ละท่ามีผลต่อฟ้าดิน หน้าบันของห้องสมุดทางด้านทิศใต้ สลักภาพพระอิศวรกำลังประทับนั่งอยู่เหนือเขาไกรลาศที่หน้าบันห้องสมุดทางด้านทิศเหนือ แสดงภาพพระอินทร์กำลังบันดาลให้ฝนตกลงมา บนอาคารเดียวกันนี้ เหนือหน้าบันทางทิศตะวันตกแสดงภาพพระกฤษณะกำลังประหารพระยากงศ์ในพระราชวัง ภาพสลัก ณ ปราสาทบันทายศรี นอกจากความงดงามในฝีมือการสลักแล้ว ยังมีคุณค่าเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้ง อันเห็นได้จากความรู้สึกที่แสดงออกมาจากภาพเหล่านั้น ซึ่งเป็นพยานหลักฐานชิ้นแรก ที่ทำให้เราทราบเกี่ยวกับชีวิตของชาวขอมในต้นพุทธศตวรรษที่ 16


กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม , ศิลปะ



ปราสาทฮิเมะจิ

             ปราสาทฮิเมะจิ (ญี่ปุ่น: 姫路城 Himeji-jo, Himeji Castle ?) เป็นปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองฮิเมะจิ จังหวัดเฮียวโงะ เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่เหลือรอดมาจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 ปราสาทฮิเมะจิได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกและสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2536 ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ปราสาทที่งดงามที่สุดในญี่ปุ่น โดยอีก 2 แห่งคือ ปราสาทมะสึโมะโตะ และปราสาทคุมะโมะโตะ และยังเป็นปราสาทที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกในชื่อว่า ปราสาทนกกระสาขาว ซึ่งมีที่มาจากพื้นผิวปราสาทภายนอกซึ่งมีสีขาวสว่าง ในปัจจุบันปราสาทฮิเมะจิได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นและมรดกโลก
        ปราสาทฮิเมะจิเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ของปราสาทญี่ปุ่น ด้วยมีลักษณะสถาปัตยกรรมและยุทโธปกรณ์ครบตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น ทั้งฐานหินสูง กำแพงสีขาว และอาคารต่างๆในบริเวณปราสาทถือได้ว่าเป็นมาตรฐานตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น และรอบๆปราสาทยังมีเครื่องป้องกันอีกมากมาย เช่น ช่องใส่ปืนใหญ่ รูสำหรับโยนหินออกนอกปราสาท               
        จุดเด่นของปราสาทอย่างหนึ่งคือ ทางเดินสู่อาคารหลักซึ่งสลับซับซ้อนราวกับเขาวงกต ทั้งประตูและกำแพงต่างๆในปราสาทได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพื่อป้องกันศัตรูไม่ให้บุกรุกเข้าถึงโดยง่าย โดยทางเดินมีลักษณะเป็นวงก้นหอยรอบๆอาคารหลัก และระหว่างทางก็จะพบทางตันอีกมากมาย ระหว่างที่ศัตรูกำลังหลงทางอยู่นี้ก็จะถูกโจมตีจากข้างบนอาคารหลักได้โดยสะดวก แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทฮิเมะจิก็ยังไม่เคยถูกโจมตีในลักษณะนี้เลย ระบบการป้องกันต่างๆจึงยังไม่เคยถูกใช้งาน



กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น